ห้องตรวจผู้ป่วยทั่วไป
 
ตารางแพทย์ตรวจรักษาในเวลา
 
ตารางแพทย์ตรวจรักษานอกเวลา
 
ตารางแพทย์คลินิกพิเศษในเวลา
ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
 
ศูนย์ประสานบริการผู้ป่วย
 
ห้องพักฟื้น
 
หน่วยคัดกรอง
ห้องตรวจข้าราชการ
แผนกเวชระเบียนและสถิติ
 
เอกสารขอประวัติผู้ป่วยเพื่อการรักษาต่อ/ใบมอบอำนาจ
 
ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการลงทะเบียนผู้ป่วย V.Thai
 
ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการลงทะเบียนผู้ป่วย V.English
 
จุดที่ให้บริการของห้องเวชระเบียน
 
รอบรู้เรื่องสิทธิรักษาพยาบาล กรณีเป็นผู้ป่วยใน
 
การรับบริการที่อาคาร..คุ้มเกศ
 
ประกาศเรื่องการทำลายแฟ้มเวชระเบียน 4/11/2562
 
คำแนะนำการขึ้นสิทธิ ทุกสิทธิในการตรวจ MRI
 
การใช้บริการออกสิทธิจ่ายตรง และสิทธิเงินสด ที่ห้องตรวจ
 
การใช้บริการแผนกทะเบียนเวชสถิติ กรณีเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน
ห้องเอ็กซเรย์
 
คู่มือสำหรับประชาชนทั่วไป เรื่องการฝังแร่วัสดุกัมมันตรังสีแบบถาวรเพื่อรักษามะเร็ง
 
คำแนะนำ ก่อน/หลังการเจาะชิ้นเนื้อ (pre Core Biopsy Instruction)
 
วิธีการเตรียมตัว/รายการตรวจ
ห้องปฏิบัติการทางโลหิต
 
การใช้บริการ ศูนย์รับ-ส่งพยาธิกรรม
การเงินค่ารักษาพยาบาล
 
สิทธิ์ต่างๆของผู้ป่วย
คลังยา|ห้องจ่ายผู้ป่วยนอก
 
คำแนะนำในการรับยา/มีปัญหาเรื่องยาปรึกษา
 
ขั้นตอนการรับยา (ห้องยาอาคารคุ้มเกล้าฯ)
 
วารสารทางการแพทย์ “โอสถติดปีก”
 
Pharmacy News 4.0 ฉบับที่ 2/2561
 
ถาม-ตอบ: สอบถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยา(โดยเภสัชกร) 24 ช.ม.
 
MRI (Magnetic Resonance Imaging)
 
คำแนะนำการขึ้นสิทธิ ทุกสิทธิในการตรวจ MRI
htmlCode

 เข้าถึงข้อมูลการรักษาได้ง่ายขึ้นด้วย...
แอปพลิเคชัน
“BAH Connect“
ดาวน์โหลด
แอปพลิเคชัน
BAH Connect ทาง  • IOS
BAH Connect ทาง Android

สถิติการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน CLICK

ขอเชิญทุกท่านแสดงความคิดเห็น
ต่อการเข้ารับบริการ
รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.

..คลิก..
พบเห็นสัตว์อันตรายโทร 27191 จาก รปภ.และนิรภัยภาคพื้น รพ.ภูมิพลอดุยเดช พอ.

3 โปรแกรม JASMINE, ROSE, ORCHID
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ห้องตรวจสุขภาพ

โทร 0-2534-7624, 2-7624

ติดต่อสอบถามได้ที่ประชาสัมพันธ์ 0-2534-7000, 0-2534-7312
วันหยุด ให้บริการคลินิกพิเศษ
นอกเวลาราชการ ประจำปี 2567
ดาวน์โหลด---> แอปพลิเคชั่น BAH Connect
บริการส่งยาทางไปรษณีย์
---> ขั้นตอน คลิก
html code 
 
  • ห้องเอ็กซเรย์
  •  


    ห้องตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

    สถานที่ตั้ง
              บริเวณ ชั้น 2 อาคารคุ้มเกล้า ภายในแผนกเอกซเรย์ ห้องตรวจหมายเลข 11 และหมายเลข 12 (เดินตามเส้นสีแดง)
    หมายเลขโทรศัพท์
                 02 –5347215
              
               
    เอกซเรย์คอมพิวเตอร์คือการใช้รังสีเอกซเรย์ส่งผ่านอวัยวะที่ต้องการตรวจไปยังหัววัดรังสี เพื่อเก็บข้อมูลส่งไปยังคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลข้อมูลเพื่อสร้างเป็นภาพอวัยวะนั้นๆออกมาเป็นภาพในระนาบต่างๆเพื่อใช้ในการวินิจฉัยของรังสีแพทย์

     
       ใช้ในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทุกส่วนของร่างกายในเวลาราชการและนอกเวลาราชกา
                (นอกเวลาเฉพาะในรายที่เร่งด่วน) 
     
      ใช้ในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณศีรษะทั้งในและนอกเวลาราชการ
       ใช้ในการเจาะชี้นเนื้อส่งตรวจ โดยใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นตัวบอกตำแหน่งของก้อนเนื้อ
     
      การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยที่มารับการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
      การนัดตรวจ
       สถานที่นัดตรวจ - แผนกเอกซเรย์ชั้น 2 หน้าห้องหมายเลข 12
     
      เอกสารในการขอนัดตรวจ
        -  ใบคำขอการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จากแพทย์
        -  ใบแบบฟอร์มสิทธิในการเบิกค่าใช้จ่าย เช่น บัตรทอง ประกันสังคม เป็นต้น(ถ้ามี)

      ข้อมูลการซักประวัติที่เจ้าหน้าที่ต้องการทราบ
        -  การแพ้สารทึบรังสี (ในรายที่เคยได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์มาแล้ว)
        -  การแพ้อาหารทะเล
        -  โรคหอบหืด ลมบ้าหมู
        -   อายุมากกว่า 70 ปี
        -   แพ้ยา ภูมิแพ้
        -   โรคหัวใจ
        -   โรคเลือด
        -  โรคเบาหวาน
        -  โรคไตเรื้อรัง
        -   การตั้งครรภ์หรือประจำเดือนครั้งสุดท้าย
        -   อาการหนัก หรือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
        -   ในรายผ่าตัดลำไส้เปิดหน้าท้องกรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่

           ** การซักประวัติจะมีประโยชน์ต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยในการเข้ารับการตรวจ**

      เอกสารที่ต้องนำมาในวันตรวจ
        - ใบนัดตรวจที่เจ้าหน้าที่ได้ให้ไว้ในวันนัดตรวจ พร้อมลายเซ็นยินยอมการตรวจ
        - ใบแบบฟอร์มสิทธิในการเบิกค่าใช้จ่าย (ถ้าในวันนัดไม่ได้นำมา)
        - สารทึบรังสีและอุปกรณ์ที่เจ้าหน้าที่ให้ซื้อในวันนัดตรวจ

      เอกสารที่ต้องนำมาในวันรับผลการตรวจ
        - ใบนัดรับผล หรือบัตรผู้ป่วย
        - ถ้าใบนัดรับผลของท่านหายกรุณาจำวันที่ท่านได้รับการตรวจเพื่อความสะดวกในการหาผลตรวจของท่าน

          ** ในวันนัดตรวจกรุณาซักถามเจ้าหน้าที่ให้เข้าใจ หรือ โทรศัพท์ 02 –5347215 ในวันและเวลาราชการ**

     
      การปฏิบัติตัวสำหรับการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณศีรษะแบ่งเป็น
     
         สมอง
     กรณีที่ไม่ฉีดสารทึบรังสีและผู้ป่วย อุบัติเหตุ
     - ไม่ต้องเตรียมตัวในการเข้ารับการตรวจ
     กรณีที่ฉีดสารทึบรังสี
     - งดอาหารและน้ำดื่มก่อนการตรวจ 4-6 ชั่วโมง ยกเว้นยา
     - ถอดวัสดุที่เป็นโลหะออกจากบริเวณศีรษะ เช่น กิ๊บผม ต่างหู ฟันปลอม สร้อยคอ
    ุ 
           ตา
     กรณีที่ไม่ฉีดสารทึบรังสี  - ไม่ต้องเตรียมตัวในการเข้ารับการตรวจ
     กรณีที่ฉีดสารทึบรังสี ี - งดอาหารและน้ำดื่มก่อนการตรวจ 4-6 ชั่วโมง ยกเว้นยา
     - ถอดวัสดุที่เป็นโลหะออกจากบริเวณศีรษะเช่นกิ๊บผม ต่างหู ฟันปลอม สร้อยคอ

          ต่อมใต้สมอง
     กรณีที่ไม่ฉีดสารทึบรังสี  - ไม่ต้องเตรียมตัวในการเข้ารับการตรวจ
     กรณีที่ฉีดสารทึบรังสี  - งดอาหารและน้ำดื่มก่อนการตรวจ 4-6 ชั่วโมง ยกเว้นยา
     - ถอดวัสดุที่เป็นโลหะออกจากบริเวณศรีษะเช่นกิ๊บผม ต่างหู ฟันปลอม สร้อยคอ

          ไซนัสและโพรงจมูก
     กรณีที่ไม่ฉีดสารทึบรังสี  - ไม่ต้องเตรียมตัวในการเข้ารับการตรวจ
     กรณีที่ฉีดสารทึบรังสี  - งดอาหารและน้ำดื่มก่อนการตรวจ 4-6 ชั่วโมง ยกเว้นยา
     - ถอดวัสดุที่เป็นโลหะออกจากบริเวณศรีษะเช่นกิ๊บผม ต่างหู ฟันปลอม สร้อยคอ

          การปฏิบัติตัวสำหรับการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณส่วนคอ
     กรณีที่ไม่ฉีดสารทึบรังสี  - ไม่ต้องเตรียมตัวในการเข้ารับการตรวจ
     กรณีที่ฉีดสารทึบรังสี  - งดอาหารและน้ำดื่มก่อนการตรวจ 4-6 ชั่วโมง ยกเว้นยา
     - ถอดวัสดุที่เป็นโลหะออกจากศรีษะและคอ เช่น กิ๊บผม ต่างหู ฟันปลอม สร้อยคอ

    ี      การปฏิบัติตัวสำหรับการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณส่วนทรวงอก
     กรณีที่ไม่ฉีดสารทึบรังสี  - ไม่ต้องเตรียมตัวในการเข้ารับการตรวจ
     - เปลี่ยนชุดของทางโรงพยาบาล
     - กลั้นหายใจตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่
     กรณีที่ฉีดสารทึบรังสี  - งดอาหารและน้ำดื่มก่อนการตรวจ 4-6 ชั่วโมง ยกเว้นยา
     - ถอดวัสดุที่เป็นโลหะออกจากบริเวณช่วงอก เช่น สร้อยคอ
     - เปลี่ยนชุดของทางโรงพยาบาล
     - กลั้นหายใจตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่

          การปฏิบัติตัวสำหรับการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณช่องท้องส่วนบน
     กรณีไม่ฉีดสารทึบรังสี  - ดื่มน้ำ 1-1.5 ลิตร 1 ชั่วโมงก่อนตรวจ (ไม่ต้องกลั้นปัสสาวะ)
     - ทานยาระบายคืนก่อนตรวจ
     - เปลี่ยนชุดของทางโรงพยาบาล
     - กลั้นหายใจตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่
     กรณีฉีดสารทึบรังสี  - งดอาหารและน้ำดื่มก่อนตรวจ 4-6 ชั่วโมง ยกเว้นยา(ไม่ต้องกลั้นปัสสาวะ)
     - ทานยาระบายคืนก่อนตรวจ
     - ดื่มน้ำ 1-1.5 ลิตร 1 ชั่วโมงก่อนตรวจ
     - เปลี่ยนชุดของทางโรงพยาบาล
     - กลั้นหายใจตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่

          การปฏิบัติตัวสำหรับการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณช่องท้องส่วนล่าง
     กรณีไม่ฉีดสารทึบรังสี  - ดื่มน้ำ 1-1.5 ลิตร 1 ชั่วโมก่อนตรวจ (ไม่ต้องกลั้นปัสสาวะ)
     - ทานยาระบายคืนก่อนตรวจ
     - เปลี่ยนชุดของทางโรงพยาบาล
     - กลั้นหายใจขณะตรวจ
     กรณีฉีดสารทึบรังสี  - งดอาหารและน้ำดื่มก่อนตรวจ 4-6 ชั่วโมง
     - ทานยาระบายคืนก่อนตรวจ
     - ดื่มน้ำ 1-1.5 ลิตร 1 ชั่วโมง ก่อนตรวจ
     - เปลี่ยนชุดของทางโรงพยาบาล
     - กลั้นหายใจตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่
     **ในบางรายอาจให้รับประทานแป้งแทนการทานน้ำเปล่าขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

           การปฏิบัติตัวสำหรับการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณช่องท้องทั้งหมด
     กรณีไม่ฉีดสารทึบรังสี  - ดื่มน้ำ 1-1.5 ลิตร 1 ชั่วโมงก่อนตรวจ (ไม่ต้องกลั้นปัสสาวะ)
     - ทานยาระบายคืนก่อนตรวจ
     - เปลี่ยนชุดของทางโรงพยาบาล
     - กลั้นหายใจตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่
     - สวนน้ำหรือน้ำผสมสารทึบรังสีเข้าทางทวารหนักขณะตรวจ
     กรณีฉีดสารทึบรังสี  - งดอาหารและน้ำดื่มก่อนตรวจ 4-6 ชั่วโมง
     - ทานยาระบายคืนก่อนตรวจ
     - ดื่มน้ำ 1-1.5 ลิตร 1 ชั่วโมง ก่อนตรวจ
     - เปลี่ยนชุดของทางโรงพยาบาล
     - สวนน้ำหรือน้ำผสมสารทึบรังสีเข้าทางทวารหนักขณะตรวจ
     - กลั้นหายใจตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่
     **ในบางรายอาจให้รับประทานแป้งแทนการทานน้ำเปล่าขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

          การปฏิบัติตัวสำหรับการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณกระดูกทุกส่วน
     กรณีที่ไม่ฉีดสารทึบรังสีและตรวจแบบสามมิติ  - ไม่ต้องเตรียมตัวในการเข้ารับการตรวจ
     กรณีฉีดสารทึบรังส  - งดอาหารและน้ำดื่ม 4-6 ชั่วโมงก่อนการตรวจ
     - เปลี่ยนชุดของทางโรงพยาบาล

      การปฏิบัติตัวระหว่างการตรวจ
          การตรวจแต่ละส่วนจะใช้เวลาในการตรวจแตกต่างกันไปแล้วแต่อวัยวะในส่วนที่จะตรวจท่านผู้รับการตรวจควรปฏิบัติตัวดังนี้
      1. นอนในท่าที่เจ้าหน้าที่จัดให้
      2. ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ เช่นการกลั้นหายใจเข้า หายใจออก เพื่อไม่ให้ภาพที่ได้เกิดการไหว
      3. ขณะตรวจเตียงจะเลื่อนเข้า- ออก พร้อมกับมีเสียงดังของเครื่อง
      4. ในขณะฉีดสารทึบรังสี ท่านอาจจะมีอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น
      5. ขณะตรวจท่านสามารถสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ได้โดยไมโครโฟนที่ติดอยู่กับเครื่อง

      การปฏิบัติตัวหลังการตรวจ 
         ในกรณีที่ฉีดสารทึบรังสี จะให้ผู้ป่วยพักดูอาการว่าแพ้สารทึบรังสีหรือไม่ประมาณ 30 นาที ถ้ามีอาการแพ้ จะมีรังสีแพทย์ รังสีเทคนิค และพยาบาลพร้อมด้วยอุปกรณ์ในการระงับอาการแพ้สารทึบรังสีให้แก่ท่านส่วนในรายที่ไม่แพ้จะอนุญาติให้กลับบ้านได้ สารทึบรังสีที่ฉีดเข้าไปในร่างกายจะถูกขับออกทางปัสสาวะดังนั้นควรดื่มน้ำสะอาดมากๆหลังการตรวจ

      สารทึบรังสีที่ใช้ในการตรวจ

          คือ สารที่ใช้การการวินิจฉัยของรังสีแพทย์ เพื่อให้เกิดความแตกต่างของการทึบต่อรังสีในส่วนที่ต้องการตรวจและบริเวณใกล้เคียง เพื่อจะได้เห็นอวัยวะที่ต้องการตรวจได้ชัดเจน
     
      วิธีการใช้สารทึบรังสี
       1. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ 2 ซีซี ต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม
       2. น้ำดื่มผสมสารทึบรังสี หรือ แป้ง
       3. สวนน้ำผสมสารทึบรังสีเข้าทางทวารหนัก

            ** การฉีดจะฉีดโดยใช้เครื่องฉีดสารทึบรังสีอัตโนมัติ**
     
     

    <<- BACK